ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

หลวง บัวผัน บัวสาย บัวฝรั่ง จงกลนี และบัวกระดัง

หลวง บัวผัน บัวสาย บัวฝรั่ง จงกลนี และบัวกระดัง 

01.jpg (5754 bytes)

     โคโลลาต้า (Colorata)
          เป็นบัวผันพันธุ์พื้นเมืองในทวีปแอฟริกา โดยมี ดร. เสริมลาภ วสุวัต นำมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2522 ก้านใบก้านดอกมีสีเขียว ไม่มีขน ใบค่อนข้างกลมไม่เป็นระเบียบ ดอกดกและทะยอยออก ดอกตูมค่อนข้างป้อม ดอกสีม่วงครามอ่อน กลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียว ด้านในสีครามอ่อนเช่นเดียวกับกลีบดอก เกสรตัวเมีย และก้านชูเกสรตัวผู้มีสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมหวาน

 


02.jpg (5411 bytes)
     บัวผัน (Cape water-lilly)
          เป็นบัวพื้นเมืองซึ่งแยกได้หลายพันธุ์ แล้วตั้งชื่อตามแหล่งที่ค้นพบ ถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกาใต้ มีดอกค่อนข้างดก ดอกตูมอยู่นานประมาณ 3 วัน ในช่วงเช้าถึงเย็น กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีโคนกว้าง ปลายเรียวแหลม กลีบเลี้ยงนอกสีเขียวมีเส้นสีน้ำตาล เกสรตัวเมียและก้านชูเกสรมีสีเหลือง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบนม หูใบเปิด ขอบใบจัก เส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เซนติเมตร
03.jpg (5791 bytes) 
      สัตตบงกช (Roseum Plenum)
          ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกซ้อนกันมาก ดอกตูมมีทรงแป้น บัวหลวงลักษณะนี้เรียกว่า สัตตบงกช บัวหลวงแดง หรือบัวฉัตรแดง ดอกนำไปบูชาพระ ใบนำมาห่อของเช่นเดียวกับบัวหลวงปทุม กลีบชั้นในชาวมาเลเซียนำมาตำพอกแก้โรคซิฟิลิซ ชาวชวาใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ก้านและใบสามารถนำมาทำยาหอม แก้ไข ยาธาตุ ฟอกโลหิต สัตตบงกช นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกไหลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากดอกไม่ค่อยบาน

     บัวหลวง (East Indian Lotus)
          ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายเรียว ดอกรา บัวหลวงลักษณะนี้เรียกได้หลายชื่อ คือ ปทุม ปัทมา โกระณต บัวหลวงชมพู บัวหลวงแดง เป็นต้น ใช้เป็นไม้ตัดดอก เพื่อนำมาบูชาพระ ใบนำมาใช้ห่อของแทนใบตอง ก้านใบในประเทศอินเดียใช้เป็นยาแก้ท้องร่วงได้ หรือนำมาใช้ในงานประดิษฐ์ต่างๆ บัวหลวงมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเอเซีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

05.jpg (5240 bytes)
     วิคตอเรีย (Victoria)
          นิยมเรียกว่าบัวกระด้ง ตามลักษณะของใบที่มีขนาดใหญ่ และยกขอบขึ้นคล้ายกระด้งของไทย ใบใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นไม่น้ำพันธุ์พื้นเมืองของทวีปอเมริการใต้ นำเข้ามาประเทศไทยเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว ดอกดกและตูมมาก จะบานประมาณ 2 วันครึ่ง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่ประมาณ 30 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีกลีบประมาณ 60 กลีบ

06.jpg (5363 bytes)
     ไดเร็คเตอร์จีทีมัวร์ (Director G.T. Mroore)
          เป็นบัวผันพันธุ์ลูกผสม มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นำเข้ามาประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2514 ใบเป็นรูปไข่ ก้านใบ ก้านดอกมีสีน้ำตาลอมแดง ไม่มีขน ดอกดกและทยอยออกตามกัน บาน 3-4 วัน กลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียว ส่วนด้านในสีเหมือนกลีบดอกคือ สีม่วงเข้ม ปลูกใช้เป็นไม้ตัดดอกได้ดี เพราะก้านดอกและกลีบดอกแข็ง ปลูกง่าย และทนต่อโรคได้ดี

07.jpg (5160 bytes)
     สัตตบรรณ (Red India Water-Lily)
          หรือบัวแดง เป็นบัวสายพันธุ์พื้นเมืองไทย ดอกเป็นไม่ประดับ ก้านนิยมมารับประทานเป็นอาหาร กลีบดอกซ้อน ปลายดอกเรียวแหลม ดอกดก ดอกตูมค่อนข้างยาว บานประมาณ 3-4 วัน ชอบอากาศร้อน เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร เกสรตัวเมียและก้านชูเกสรตัวผู้มีสีน้ำตาลอ่อนอมแดงเรื่อ อับเกสรตัวผู้สีแดงเข้ม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

08.jpg (5347 bytes)
     เอลลิซิอาน่า (Ellisiana)
          เป็นบัวฝรั่งพันธุ์ผสม ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส นำเข้ามาในไทยประมาณ พ.ศ. 2512 ดอกไม่ดก ดอกตูมบานประมาณ 3-4 วัน ในเวลาเช้า-เย็น เมื่อดอกบานจะมีรูปร่างคล้ายถ้วย สีของกลีบดอกคล้ายกับสีทับทิบ จึงนิยมเรียกว่า ทับทิบสยาม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ใบรูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ด้านล่างของใบมีสีชมพูอ่อนๆ ขยายพันธุ์ค่อนข้างง่ายแต่ติดเมล็ดยาก

09.jpg (5405 bytes)
     มิสซิสเอ็ดเวิร์ดสวิทเทคเกอร์  (Mrs.Edwards Whitaher)
          เป็นบัวผันพันธุ์ลูกผสม มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา นำเข้าไทยเมื่อ พ.ศ. 2523 ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ขอบใบจักร แหลมห่าง มีแถบด่างสีน้ำตาลแดง ก้านใบและก้านดอก สีเขียวเหลือบน้ำตาลแดง ไม่มีขน ดอกดกและทยอยออก กลีบดอกซ้อน กลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียว มีจุดประปลายสีน้ำตาลแดง ด้านในสีครามอ่อน เช่นเดียวกับกลีบดอก มีกลิ่นหอมหวาน

10.jpg (5282 bytes)
     ซันไรส์, ไจแอนท์เยลโล่  (Sunrise ,Giant yellow)
          เป็นบัวฝรั่งพันธุ์ลูกผสม มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ฝรั่งเศส ใบมีลักษณะกลม ขอบใบเรียบ ปลายใบมนมีจุดกระสีม่วง ก้านใบและก้านดอกสีเขียวอ่อนอมชมพู ไม่มีขน ดอกค่อนข้างดกและทยอยออกตามกัน กลีบดอกซ้อนมาก กลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียว ด้านในสีเหลืองอ่อน เช่นเดียวกับกลีบดอก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ทนต่อสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี

11.jpg (3739 bytes)

     มาดามวิลฟรองกอนเนียร์ (Madame Wilfron Gonnerre)
          เป็นบัวฝรั่งพันธุ์ลูกผสม มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ใบมีลักษณะกลม ขอบใบเรียบ ปลายมน ก้านใบและก้านดอกสีแดง มีขน ดอกดกและทยอยออกตามกัน เป็นชุดๆ ดอกตูมมีลักษณะป้อม กลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีคล้ายกลีบดอก ลักษณะพิเศษคือ เป็นบัวที่มีกลีบดอกซ้อนกันมากที่สุด และสีดอกจะเปลี่ยนจากชมพูเรื่อในวันแรก จนเป็นสีชมพูเข้มในวันสุดท้าย

12.jpg (4328 bytes)
     เท็ดอูเบอร์ (Ted Uber)
          เป็นบัวผันพันธุ์ลูกผสม มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่สหรัฐอมเริกา นำเข้ามาในไทยเมื่อ พ.ศ. 2514 ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ขอบใบจักรและปลายแหลม ก้านใบและก้านดอกสีเขียว ไม่มีขน ดอกดกและทยอยออก ดอกตูมค่อนข้างป้อม กลีบดอกซ้อน กลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียว ด้านในสีขาว เช่นเดียวกับกลีบดอก มีกลิ่นหอมหวาน ลักษณะพิเศษของบัวชนิดนี้คือ ทนทานต่อโรคและแมลงได้ดีมาก

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิธีการปลูก และดูแลรักษา


 การปลูกบัวในภาชนะ

ดินและการเตรียมดิน

ดินปลูก
ดินปลูกบัวที่เหมาะสมที่สุดต้องดินที่ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง เช่น ดินเหนียว ดินท้องนา ดินท้องร่วงสวนขุดใหม่ ไม่ควรใช้ดินที่มีซากอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายไม่หมดเพราะจะทำให้น้ำเน่า เสียได้
การเตรียมดิน
นำดินเหนียวที่ได้ตากแดดให้แห้งทุบย่อยให้มีขนาดเล็กลง (ดินเหนียวถ้าแห้งจริง ๆ แล้วจะแตกง่าย) เก็บเศษวัชพืช ที่ติดมากับดินออกให้หมด แบ่งดินที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปผสมเพื่อทำเป็นดินปลูกอีกส่วนหนึ่งเป็นดินเปล่า ๆ ไม่ต้องผสมอะไรทำเป็นดินปิดหน้า
สูตรดินผสม

ดิน 10 ส่วน
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
ร๊อคพอสเฟท 1 กำมือ/ดิน บุ๋งกี๋
ธาตุอาหารรอง 1 กำมือ/ดิน10 1 บุ๋งกี๋
ปุ๋ยคอกที่ใช้ผสมดินจะเป็นมูลอะไรก็ได้ แต่จะต้องให้แห้งและจะต้องไม่มีวัตถุอื่นเจือปนในกรณีที่ใช้ปุ๋ยคอกเป็นมูล ไก่หรือ มูลค้างคาวให้เพิ่มดินเป็น 15 ส่วน ทั้งนี้เพราะมูลทั้ง 2 ชนิดมีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงอาจเป็นโทษต่อบัวได้
วิธีการปลูก

บัวแต่ละชนิดมีวิธีการปลูกต่างกันตามลักษณะของวัสดุปลูกและการเจริญเติบ โตสำหรับการปลูกด้วยวัตถุประสงค์ให้เป็น ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุปลูกคือ ส่วนของพืชที่ขยายพันธุ์ (Vegetative propagation) ได้แก่ หน่อ ไหลที่แตกต้นใหม่ เหง้า บัว และต้นอ่อนที่เกิดจากหัวหรือต้นแม่บัวแต่ละชนิดมีวิธีปลูกดังนี้
ส่วนที่ขยายพันธุ์ปลูกคือไหลที่กำลังจะแตกต้นอ่อน ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลและเนื่องจากการเจริญเติบโตของบัวหลวง สามารถสร้างไหลเจริญตามแนวนอนใต้ผิวดินไปได้ทุกทิศทางและเร็วมาก การปลูกจึงแทบไม่มีกฎเกณฑ์อะไร เพียงแต่ ฝังไหลในจุดที่ต้องการใต้ผิวดิน 8-12 เซนติเมตร กลบอัดดินให้แน่นถ้าไม่มีต้นอ่อนฝังกลบทั้งไหลบัวจะเจริญและแตก ต้นอ่อนขึ้นมาเอง ถ้ามีต้นอ่อนก็ให้ส่วนยอดของต้นที่อ่อนโผล่เหนือดินและไม่ต้องห่วงมากนัก เรื่องที่จะให้พ้นน้ำอยู่ใต้ ผิวน้ำสัก 10-15 เซนติเมตรก็ได้ไหลบัวหลวงที่ผู้เรียบเรียงสั่งมาจากต่างประเทศเป็นไหลแก่ หรือเหง้าไม่มีใบเลย มีแต่ ส่วนข้อและยอดที่จะแตกต้นใหม่ปลูกแช่ในน้ำลึก 30 เซนติเมตร เพียง 3-4 สัปดาห์ก็แตกใบขึ้นพ้นน้ำ

บัวฝรั่ง
วัสดุปลูกส่วนใหญ่จะเป็นเหง้าที่มีหน่องอกต้นแล้วซึ่งจะอยู่ส่วนปลายของหน่อ หรือเหง้า เนื่องจากการเจริญเติบโตตาม แนวนอนริมอ่างใต้ผิวดิน 3-4 เซนติเมตร อัดแน่นในส่วนปลายหันเข้ากลางอ่างอุบลชาติจะเจริญเติบโตและเลื้อย จาก ริมอ่างด้านหนึ่งไปชนริมอ่างอีกด้านหนึ่งและจะชงักการเจริญเติบโตใบเล็กลง ไม่ค่อยออกดอก หักเหง้าส่วนปลายหันกลับ ปลูกใหม่ ให้วิ่งย้อนกลับใช้หลักการเดียวกันกับปลูกโดยตรงในบ่อคอนกรีต พลาสติกหรือบ่อดิน คูคลอง ฯลฯ การปลูก แบบนี้โดยเฉพาะในบ่อกว้างที่ปลูกโดยตรงอุบลชาติจะเจริญแตกหน่อ ขยายเหง้า แผ่ออกไปเหมือนรูปพัด แต่ถ้ามีวัตถุ ประสงค์ที่จะปลูกให้เจริญเป็นกระจุกหรือวงกลมแนะนำให้ปลูกจุดละ 3 เหง้า วางเป็นรูป 3 เหลี่ย หรือ 3 ศร
อุบลชาติจะเจริญและแผ่เป็นรูปวงกลมแต่ถ้ามีพันธุ์น้อย ปลูกเหง้าเดียวแล้วค่อยหักปลายเหง้าที่แตกใหม่เข้าทิศทางที่

บัวผัน บัวเผื่อน บัวสาย และจงกลนี
เจริญเติบโตทางดิ่งจึงปลูกได้โดยตรง ณ จุดที่ต้องการ ถ้าปลูกในอ่างหรือกระถางก็ปลูกตรงกลางด้วยหัวหรือต้นอ่อนฝัง ให้อยู่ใต้ผิวดิน 2-3 เซนติเมตร อัดแน่น
หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปสำหรับอุบลชาติเมื่อเริ่มปลูกคือ ปรับระดับน้ำให้สูงกว่าใบที่เจริญที่สุด 10-15 เซนติเมตร ธรรมชาติ ของอุบลชาติจะรัดและเร่งให้ใบเจริญขึ้นสูงเหนือน้ำภายใน 2-3 วัน

บัวกระด้ง
ปลูกโดยการเพาะเมล็ดในดินในกระถางแช่น้ำ เมื่อต้นโตแตกใบอ่อน 2-3 ใบ ขนาดใบที่ใหญ่ที่สุดยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ย้ายปลูกในกระถางใหญ่ขึ้น ๆ จนโตเต็มที่ในกระถางขนาดปากกว้าง 12 นิ้ว ยกทั้งกระถางลงฝังในบ่อให้ดิน พื้นบ่อกลบโคน 6-10 เซนติเมตร ต่อยกระถางให้แตก รื้อออกกลบดินรอบให้แน่น หรือย้ายปลูกเช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไป คือเราะดินให้ยึดรากออกจากกระถางทั้งกระเปาะแล้วฝังปลูกในบ่อหลักที่อาจจะ ใช้เป็นข้อสังเกตว่าบัวจะรอดหรือไม่คือ ดูการขึ้นของขอบกระด้ง ตราบใดที่บัวยังไม่ได้ตั้งตัวได้เต็มที่ใบจะไม่ขึ้นขอบเป็นรูปกระด้งเมื่อไร แสดงว่าคงรอดตายแน่ ถ้าไม่ต้องการที่จะต่อยกระถางให้แตกย้ายปลูกครั้งสุดท้ายลงในกระถางปลูก กล้วยไม้ปากกว้าง 12 นิ้ว ที่มีรูปข้างกระถาง โดยรอบแล้วห่อกระถางด้วยพลาสติกเวลาปลูกลงห่อกระถางด้วยพลาสติกเวลาปลูกลง บ่อรื้อพลาสติกที่ห่อออก ปลูก ณ จุดที่ต้องการทั้งกระถางเลย
หลักเกณฑ์ในการบรรจุดินและปลูกบัวในภาชนะปลูก

การบรรจุดิน
ตามปริมาณและความลึกที่บัวแต่ละพันธุ์ต้องการ บรรดุดินผสมปุ๋ยสองในสามส่วนของดินที่จะใช้ปลูกทั้งหมดอัดแน่น ชั้นล่างอีกหนึ่งในสามด้านบนบรรจุดินเหนียวป่นธรรมดา เติมน้ำพอชุ่ม อัดแน่น
การปลูกบัวหลวง-บัวฝรั่ง
เพราะเจริญเติบโตทางนอนจึงควรใช้ภาชนะทรงกว้างปลูกริมภาชนะให้ยอดหันเข้ากลางภาชนะ
ระดับน้ำ
ดินปิด 1/3
ดินผสม 2/3
การปลูกบัวผัน บัวสาย จงกลนี และบัวกระด้ง (ปลูกในภาชนะที่ใหญ่มาก) เจริญเติบโตทางตั้ง (ดิ่ง) จึงควรใช้ภาชนะ ทรงสูงปลูกกลางภาชนะ
ระดับน้ำ
ดินปิด 1/3
ดินผสม 2/3
หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษา

บัวทุกชนิด (หรือต้นไม้ทุกชนิด) ปลูกไม่ยาก สำหรับบัว การดูแลรักษาถ้าปลูกเป็นไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้านเพียงไม่กี่ต้น เช่น ปลูกภาชนะจำกัดเป็นอ่าง ๆ หรือบ่อเล็ก ๆ ในสวนหย่อมไม่ยากเลย งานเบามาก เด็ก สตรี และคนชราก็ทำเองได้แต่ ถ้าปลูกในบ่อพลาสติกหรือบ่อดินขนาดใหญ่มีบัวเป็นสิบ ๆ ต้น งานดูแลรักษาไม่หนักแต่ใช้เวลามาก
หลักเกณฑ์และวิธีการดูแลรักษาที่สำคัญได้แก่
1. ป้องกันน้ำเสีย
โดยเฉพาะการปลูกในภาชนะจำกัดและขนาดเล็กปริมาณน้ำน้อยบัวก็เหมือนกับปลา ต้องการอากาศหายใจในน้ำถ้าน้ำเสีย อ๊อกซิเย่นไม่มีจะพาลตายได้ง่าย เด็ดใบแก่ดอกโรยทิ้งเสียก่อนจะเน่าในภาชนะหรือบ่อที่ปลูกถ้าไม่จำเป็นไม่ควร แก้ไข โดยการถ่ายน้ำเปลี่ยนน้ำใหม่บ่อย ๆ เพราะจะต้องทำให้บัวต้องปรับตัวเองตามจะเจริญเติบโตช้าแต่ถ้าจำเป็นด้วยเหตุ เช่น มีสัตว์ตายอยู่ใต้ดินปลูก ได้แก่ กิ้งกือ ไส้เดือน หรือคางคกลงไปปล้ำกัดกันตายหรือออกไข่-ออกลูกจนน้ำเน่าเสีย หรือ อินทรีย์วัตถุที่ติดมากับดินปลูกยังเน่าเปื่อยไม่หมดทำให้น้ำเน่า ถ่ายน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วยังไม่หายต้องเปลี่ยนดินปลูกใหม่
2. ปราบตะไคร่น้ำ-สาหร่าย
ตะไคร่น้ำที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ เช่นมูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยคลุกที่ยังไม่สลายตัวเต็มที่ สาหร่ายอาจติดมากับดินปลูกเก็บทิ้ง ถ้าปลูกไม่กี่ต้น ถ้าปลูกมากแต่ปลูกในภาชนะจำกัดใช้ด่างทับทิมละลายน้ำในภาชนะปลูกเป็นสีบาน เย็นเข้มทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งเก็บตะไคร่สาหร่ายที่ตายออกเติมน้ำใหม่ตามเดิม
3. เก็บคราบน้ำมัน
ไขมันจากกระดูกป่นหรืออินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยไม่หมดและการปลูกที่อัดดิน ไม่แน่น ดินกลบกลบดินผสมเบื้องล่าง ไม่สมบูรณ์ ไขมันจะละลายเป็นฝ้า ถ้าปลูกในอ่างหรือในภาชนะจำกัดใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปะลอยบนผิวน้ำจะช่วยซับ คราบน้ำมันออกถ้าปลูกในบ่อที่มีท่อน้ำล้น ปล่อยน้ำดันให้น้ำผิวหน้าไหลล้นออกทางท่อระบายน้ำ
4. ต้นและรากลอย
เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ที่สนใจเลิกปลูกบัวไปหลายราย โดยเฉพาะอุบลชาติ เช่น เมื่อปลูกใหม่ ๆ ถ้ากดอัดดินทับไม่แน่น ต้นเหง้าลอย รากดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นไม่ได้สังเกตได้ง่ายที่สุด ไม่โตสักที ใบเล็กลงและใบเหลือง แก่เร็ว แก้โดย การปลูกใหม่ และหาไม้ไผ่อ่อนพับครึ่งคล้ายปากเคียเสียงคร่อนต้นที่ปลูกกันไม่ให้ลอย (ชาวสวนปลูกบัวเรียกตะเกียบ) สำหรับต้นแก่ที่ปลูกไว้นานแล้ว โดยเฉพาะในภาชนะที่จำกัดอุบลชาติประเภทยืนต้นเจริญทางนอนจนไปชนอีกผนังของ อ่างหรือบ่อในหลายกรณีจะหักขึ้นบนเจริญขึ้นไปจนรากลอยตัดเหง้าที่ไม่ต้องการ ทิ้ง ปลูกใหม่
5. ที่ปลูกร้อนเกินไป
บัวทุกชนิดต้องการแดดเต็มที่ จะมีปัญหาถ้าที่ปลูกบัวตื้นน้ำน้อยแดดเผาน้ำจนร้อน สังเกตง่าย ๆ ขนาดน้ำอุ่นพอที่จะอาบได้ สบาย ๆ ก็ถือว่าร้อนแล้วสำหรับบัว บัวต้องการแดดเต็มที่วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ขยับที่ปลูกเสียใหม่ถ้าปลูกในภาชนะ ที่เคลื่อนย้ายได้หรือเปลี่ยนภาชนะที่ปลูกให้น้ำลึกขึ้น หรือถ้าเปลี่ยนอะไรไม่ได้และที่ปลูกได้แดดทั้งวัน ใช้มุ้งลวดหรือ มุ้งพลาสติกกันด้านบนเพื่อลดความเข้ม-ร้อนของแสง
6. ดินจืด
มี 2 สาเหตุ คือ ขาดปุ๋ย หรือขาดดิน (ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด) สังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าบัวใบเล็กลง เหลืองแก่เร็ว ถ้าปลูกใน บ่อดินที่เหลือเฟือก็คือขาดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตรกลาง ๆ ทั่วไป เช่น 10-10-10, 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือปุ๋ยสำหรับบัว โดยเฉพาะถ้าปลูกในภาชนะจำกัดที่สามารถอัดปุ๋ยได้ในการจุ่มมือครั้งเดียว จะใช้ปุ๋ยห่อกระดาษอ่อนที่ใช้เข้าห้องน้ำหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์อัดฝังโคนต้นบัวเลย แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการฝังปุ๋ยทำปุ๋ย ลูกกอนำโดยปั้นดินหุ้มปุ๋ยผึ่งแห้งเตรียมไว้ จะใช้เมื่อไรก็ฝังโคนต้นสำหรับปริมาณใช้เท่าไรขึ้นอยู่กับการสังเกตและศึกษา เองของผู้ปลูก เพราะภาชนะปลูกเล็ก-ใหญ่ ต่างกันปริมาณน้ำปลูกมากน้อยต่างกัน ปลูกในบ่อดิน บ่อคอนกรีต พันธุ์ชนิดบัว ฯลฯ จึงไม่สามารถกำหนดเป็นเกณฑ ์ตายตัวได้ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด อีกสาเหตุคือขาดดิน บัวจะออกรากขยายเหง้า ฯลฯ ดันดินพ้นภาชนะละลายไปอยู่กั น้ำจนในที่สุดแทบจะไม่มีดินเหลืออยู่เลย ราก-เหง้าอัดภาชนะเต็มไปหมด แก้โดยรื้อเปลี่ยนดินปลูกใหม่
7. โรค-แมลงศัตรู
ที่พบเป็นประจำ คือ โรคใบจุดและรากเน่าโรคใบจุดไม่ร้ายแรง เพราะใบบัวมีพื้นที่ปรุงอาหารมากเด็ดใบเป็นโรคทำลาย ทิ้งไป โรครากเน่ามีบ้างร้ายแรงกับบัวกระด้งและอุบลชาติ ประเภทล้มลุกบางพันธุ์ ยังไม่ทราบวิธีแก้ นอกจากนั้น คือ เก็บดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสียเลี่ยงไปปลูกบัวชนิดอื่น หรืออุบลชาติประเภทอื่นแทน แมลงที่สำคัญกินบัว ทุกชนิดคือ เพลี้ยและหนอนบัวหลวงเดือดร้อนมากที่สุด เพราะชูใบขึ้นมาให้เพลี้ยเกาะกินบัวชนิดอื่นถูกทำลายบ้างแต่ ใบลอยน้ำฝนตกน้ำกระเพื่อมก็ช่วยซัดเอาเพลี้ยหลุดลอยไปได้บ้าง (ปกติผู้ปลูกเป็นการค้าจะพ่นน้ำให้ลอยหลุดไป) ป้องกันโดยเด็ดใบที่มีเพลี้ยและหนอนท้ง-ทำลายหนอนพับหนอนพับใบเป็นศัตรูที่ สำคัญของอุบลชาติ เช่นผีเสื้อ กลางคืนจะมาวางไข่บนใบเมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินดูดน้ำเลี้ยงใบจนโตแล้ว กัดใบพับทับตัวเองเพื่อป้องกันศัตรู เช่น นก ฯลฯ ป้องกันกำจัดโดยการบี้ทำลาย บัวหลวงมีศัตรูหนอนมากที่สุดนอกเหนือจากเพลี้ยไฟซึ่งเก่ากินใต้ใบ หนอนกระทู้หนอนชอนใบ โดยเฉพาะหนอนกระทู้กินใบ โกร๋นทั้งต้นซึ่งจะเกิดในช่วงปลายฤดูฝนและในฤดูหนาวซึ่ง เป็นระยะที่บัวชงักการเจริญเติบโตด้วย กสิกรที่ปลูกบัวหลวงเป็นการค้ามักจะตัดใบทิ้ง-ทำลายหมด(ให้หมดเชื้อของหนอน) รอให้ใบแตกใหม่-ออกดอกใหม่ แมลงที่กล่าวทั้งหมดสามารถปราบและควบคุมได้พอสมควรโดยใช้ยาอะโซดริน 60 ผสมน้ำอัตราส่วนน้ำยา 1:100 (1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้เป็นฝอยให้จับหน้าของใบบัวบาง ๆ ใบจะดูดน้ำยาเข้าไว้ เมื่อแมลงและหนอนมาดูดกินน้ำเลี้ยงของใบจะกินยาเข้าไปด้วยและตาย ฉีดพ่นทุก ๆ สัปดาห์จนกว่าจะหมดศัตรูฉีดบาง ๆ จะไม่เป็นอันตรายทั้งกับคนและปลาที่เลี้ยง
8. หอย
ส่วนใหญ่ได้แก่หอยขมและหอยคันเป็นทั้งมิตรและศัตรู หอยโข่งเป็นศัตรูที่จงใจ แต่หอยขมเป็นศัตรูที่ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจ บ้างคือเมื่อตอนเป็นต้นอ่อนจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากรากและใบอ่อนที่เกิดใหม่ ๆ ใต้น้ำ โดยเฉพาะอุบลชาติบัวหลวงไม่ค่อย เดือดร้อนเพราะมีสารที่เรียกว่า ดิวติน เคลือบอยู่ และก้านใบก้านดอกมีหนามเล็ก ๆ (บัวกระด้งหนามเต็มต้นไม่เดือนร้อน เลย) หอยขมและหอยโข่งเมื่อโตขึ้นจะเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบเกาะดูดน้ำ เลี้ยงจากไข่-ตัวหนอน และน้ำเลี้ยง ใบกินระหว่างเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบ ถ้าน้ำกระเพื่อมกระเทือนจะหุบก้าน ปล่อยตัวหลุดจากก้านบัวเมื่อก้านหุบ ก็เลยเหมือนมีดตัดก้านบัวที่ยังอ่อน ๆ ขาดไปด้วยเป็นปัญหาใหญ่ของการปลูกในบ่อดินป้องกันกำจัดโดยการเก็บทิ้งและ ปลูกอุบลชาติเผื่อไว้มาก ๆ จะได้แบ่งเบาการทำลายลงไปได้บ้าง ถ้าปลูกในภาชนะจำกัดเก็บทิ้งง่ายหอยจะเป็นตัวบอกว่า น้ำเสียหรือยังถ้าน้ำเสียหอยจะลอยมาเกาะตามผนังภาชนะ ณ จุดผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจแสดงว่าอ๊อกซิเย่นในน้ำไม่มี น้ำเสียแล้วควรรีบแก้ไข
9. วัชพืช
เป็นปัญหาที่ใหญ่ของการปลูกบัวในบ่อดิน หญ้ามิใช่วัชพืชหลักเพราะเมื่อถอนทิ้งไปแล้วก็หมดไปโดยเฉพาะน้ำมากและ ลึกพอควรที่เป็นปัญหาหลักคือสาหร่ายมี 2-3 ชนิด เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายวุ้น สาหร่ายไปและสาหร่ายฝอย สาหร่ายหางกระรอกปราบยากที่สุดเพราะเปาะเมื่อถูกถอนมันจะขาดส่วนที่ขาดจะลอย และไปขยายพันธุ์ต่อที่อื่น สาหร่าย วุ้นยากเป็นที่ 2 เพราะลื่นและหลุดขาดออกจากกันง่ายเช่นเดียวกับสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายเส้น หรือสาหร่ายฝอย เก็บปราบง่ายที่สุดเพราะไม่ค่อยขาดถอนหรือเก็บได้ทั้งกระจุกแต่จะร้ายที่สุด เพราะมักจะไปพันบัวเสียจนยอดบัวเจริญ ขึ้นมาได้ ลูกบัวและก้านบัวต้นเล็ก ๆ ที่งอกจากเมล็ดจากอุบลชาติประเภทล้มลุกทั้งพวกบานกลางวันและบานกลางคืน คือบัวผัน บัวเผื่อน และบัวสายเป็นปัญหามากที่สุดและไม่รู้จักจบสำหรับการปลูกในบ่อดินที่ปลูก อุบลชาติประเภทนี้ ต้อง เก็บกันเป็นประจำทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพราะนอกจากจะทำให้บ่อบัวรกไม่สวยงามแล้ว ยังแย่งแร่ธาตุอาหารจากบัวที่ปลูก อีกด้วย วิธีแก้คือต้องขยันหมั่นเก็บดอกแก่ทิ้งก่อนติดเมล็ดถ้าปลูกบ่อใหม่และคิดว่า จะเก็บไม่ทัน และปลูกหลายบ่อแนะนำ ให้แยกปลูกอุบลชาติประเภทยืนต้นไว้บ่อหนึ่ง ล้มลุกอีกบ่อหนึ่ง เก็บลูกบัววัชพืชเฉพาะบ่อปลูกประเภทล้มลุกบ่อเดียว
10. ฟักตัวในฤดูหนาว
อุบลชาติประเภทยืนต้นหรือบัวฝรั่งหลายพันธุ์ และอุบลชาติประเภทล้มลุกบานกลางวัน หรือบัวผัน บัวเผื่อนที่นำมาจาก ต่างประเทศบางพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตผลิตใบหนา ก้านใบสั้น จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวแก้โดยเพิ่มความร้อนและ แสงให้ หรือโดยการลดความลึกของระดับน้ำในบ่อที่ปลูกก่อนเข้าฤดูหนาว 1 เดือน (ประมาณกลางเดือนตุลาคม) โดย ลดระดับน้ำให้เหลือ 15-20 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือยกอ่างปลูกให้อยู่ใกล้ผิวหน้าของน้ำตามเกณฑ์ดังกล่าว
11. ปลูกบัวพันธุ์ไหนที่เหมาะสมกับสถานที่และภาชนะที่ปลูก
เป็นหัวใจของการดูและรักษาเพราะถ้าชนิดพันธุ์ไม่เหมาะสมแก่สถานที่ที่จะดูแล รักษาอย่างไรก็ไม่โต ในปัจจุบันพันธุ์ ที่มีจำหน่ายผู้ขายและผู้ปลูกควรรู้จักพันธุ์ว่าชนิดใดชอบน้ำตื้นน้ำลึก ที่ปลูกควรกว้างหรือแคบแค่ไหนผู้ผลิตพันธุ์ออกมา จำหน่ายจะต้องบอกได้ว่าบัวพันธุ์นั้น ๆ ต้องการที่ปลูกอย่างไร
12. อย่าให้อดอาหารและอย่าให้กินจนเป็นโรคท้องมาร
ใส่ปุ๋ยบำรุงตามความจำเป็นถ้าใส่มากเกินไปน้ำจะเขียว ปุ๋ยสูตรสมดุล10-10-10, 12-12-12, 15-15-15 หรือ 16-16-16 ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น หรือปั้นเอาดินเหนียวหุ้มปริมาณเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตของผู้ปลูก เพราะผู้ปลูกแต่ละ รายปลูกในภาชนะขนาดแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องหมั่นสังเกตถ้าน้ำเขียว ตะไคร่ สาหร่ายขึ้นเร็วแสดงว่าให้ปุ๋ย มากเกินไปควรลดปริมาณหรือความถี่ในการให้ปุ๋ยลง
13. เลี้ยงปลาที่ไม่กินพืช
เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด หรือปลากัด เพราะจะช่วยกินลูกน้ำ
14. อย่าให้บัวขยายพันธุ์จนแน่นในภาชนะเดียวกัน
บัวฝรั่งจะแตกต่าง บัวสาย บัวหลวง จะแตกไหลไปขึ้นต้นใหม่ บัวผันหรือบัวสายเกิดเมล็ดงอกเป็นต้นใหม่แน่นภาชนะ ให้เอาออกเพราะหากแน่นมากไปต้นจะไม่ออกดอก
15. อย่าปลูกบัวหลายพันธุ์ในภาชนะเดียวกัน
ต้นจากพันธุ์ที่แข็งแรงโตเร็วจะเบียดต้นอ่อนแอจนตายไปในที่สุด
16. บัวฝรั่ง บัวหลวง เจริญตามแนวนอน
ถ้าพุ่งชนภาชนะเมื่อไรจะชงักการเจริญเติบโต หักเหง้าหรือไหลให้ยอดหันกลับทางกลางอ่างหรือบ่อ
17. ไม่จำเป็นอย่าถ่ายน้ำในบ่อบัว
เพราะจะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากที่บัวเคยชิน บัวจะไม่งาม ถ้าจำเป็นจะต้องถ่ายควรถ่ายออกครึ่งหนึ่งเก็บไว้ ครึ่งหนึ่งจะเป็นการดี
18. เปลี่ยนดินปลูกใหม่
ควรเปลี่ยนเมื่อรากแน่นภาชนะที่ปลูกและถ้าปลูกในภาชนะที่จำกัดหรือถ้าปลูกในบ่อและนาน ๆ หลาย ๆ ปี ก็น่าต้องเปลี่ยน หน้าดินเหมือนกัน



 การดูแลรักษา


ปลูกบัวทางทิศตะวันตก เจริญงอกงามมากกว่าการปลูกบัวทางทิศอื่นๆ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ในสัญลักษณ์ และความเชื่อ

ในสัญลักษณ์ และความเชื่อ

บัวมีมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ซึ่งมีตำนานกล่าวว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ปรุงยาจากดอกบัว ถวายแด่ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า แก้อาการอ่อนเพลีย ถือว่าดอกบัวเป็น ดอกไม้ประจำศาสนาพุทธ ตามพุทธประวัติพบว่า บัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเมื่อ ได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่า
คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ดอกบัว ในการบูชาพระอยู่เสมอ แต่บัวที่เรานิยมปลูกไว้ภายในบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ บัวหลวง บัวผัน บัวฝรั่ง บัวสาย และบัวกระด้ง
ความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมงคลยิ่งนัก
คนโบราณจึงมึความเชื่อว่า ครอบครัวใดที่ปลูกบัวเอาไว้ประจำบ้าน ก็จะช่วยให้คนครอบครัวนั้น มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สะอาด และเบิกบานแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกบัว และยังเชื่ออีกว่า สายใยของบัวที่ยืดยาวนั้น คือสายสัมพันธ์ของครอบครัว จะทำให้ทุกคนมีความห่วงใยรักใคร่ และผูกพันต่อกันอย่างแนบแน่น ครอบครัวนั้น ก็จะมีแต่ความสุข เพราะความรักใคร่ปรองดองของคนในครอบครัวทุกคน
ควรปลูกต้นบัวในวันพุธ เพราะวันพุธนั้น เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ต้นบัวที่ปลูกในวันพุธ จะทำให้บัวผลิดอกบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งสระ
ผู้ที่เหมาะที่จะปลูกบัวมากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดปีจอ เพราะต้นบัวนั้น เป็นต้นไม้ประจำปีของคนเกิดปีจอ หากผู้ที่เกิดปีจอเป็นผู้ปลูก และมีผู้ที่เกิดปีเดียวกันอาศัยอยู่ภายในบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้นไปอีก (ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีจอ ก็ควรให้หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ปลูกก็ได้)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ชนิดของบัว

ชนิดของบัวชนิดของบัว


1. บัวหลวง Nelumbo nucifera Gaertn. ก้าน ใบ – ดอก แข็ง มีตุ่มหนาม ส่งใบดอกชูพ้นน้ำ เป็นไม้น้ำสกุลปทุมชาติ (Nelumbo) มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและอบอุ่น พันธุ์กำเนิดในประเทศไทย มี 4 พันธุ์คือ

     1.1 ” ปทุม “ เป็น บัวหลวงสีชมพู บางทีก็เรียก บัวแหลมแดง หรือแดงดอกลา กลีบดอกไม่ซ้อนดอกมีขนาดใหญ่ สีชมพูจนถึงแดง เป็นพันธุ์ที่ขึ้นแพร่หลายทั่วไป คนไทยจะคุ้นเคยกับบัวหลวงพันธุ์นี้มากที่สุด เพราะขึ้นในธรรมชาติทั่วไป ในภาษากวีมีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ปทุม ปทุมมาลย์ ปัทมา โกกนุต มีทรงดอกตูมทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมคล้ายรูปหัวใจหงายขึ้น เมื่อโตเต็มที่ขนาดดอกจะกว้างประมาณ 5 – 8 เซ็นติเมตร ยาวประมาณ 10 – 15 เซ็นติเมตร กลีบเลี้ยงมีสีเขียว ขอบกลีบมีสีชมพู มีเส้นกลีบดอกตามแนวยาวชัดเจน มีกลีบเลี้ยง จำนวน 3 กลีบอยู่โคนดอกติดกับก้านดอก กลีบดอกมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด มีลักษณะยืดหยุ่นสีชมพู โคนกลีบมีสีเหลืองขอบกลีบเป็นสีชมพูเข้มกว่าตัวกลีบดอก และเห็นเส้นกลีบดอกเรียงตามยาวชัดเจน กลีบดอกเรียงซ้อนกันประมาณ 4 – 5 ชั้น ชั้นในสุดติดกับเกสรตัวผู้ จำนวน 500 – 600 อัน เกสรตัวเมียถูกห่อหุ้มเป็นฝักขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ ประมาณ 25 – 30 เมล็ด อาจจะเป็นเพราะมีเกสรตัวผู้ค่อนข้างมาก ทำให้มีการผสมเกสรทำได้ง่าย จึงทำให้มีการแพร่พันธุ์ของบัวชนิดนี้มากกว่าพันธุ์อื่น เวลาดอกบานจะมีกลิ่นหอมเย็น และกลิ่นค่อนข้างแรง สำหรับบัวหลวงสีชมพูพันธุ์ดอกเล็ก จะสังเกตจากดอกมีขนาดเล็กกว่าปกติ แต่มีลักษณะดอกและสีคล้ายกัน กล่าวกันว่าได้พันธุ์มาจากประเทศจีน บางคนจึงเรียกกันว่า บัวหลวงจีน บัวเข็มบัวปักกิ่ง บัวไต้หวัน

     1.2 “บุณฑริก หรือ ปุณฑริก” ชื่อ สามัญเรียก บัวแหลมขาว ทรงดอกแหลมสีขาวถึงขาวอมเขียว กลีบดอกไม่ซ้อน บัวชนิดนี้มีน้อยกว่าชนิดแรก ลักษณะดอกตูมรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมคล้ายพันธุ์ดอกสีชมพู ความกว้างของดอกจะน้อยกว่าความยาว ดอกที่สมบูรณ์จะมีขนาดกว้างประมาณ 5 – 8 เซ็นติเมตร  ยาวประมาณ 10 – 15 เซ็นติเมตร สีเขียวอ่อน เมื่อดอกบานกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีขาว มีเส้นที่กลีบดอกตามแนวยาวชัดเจน โคนของกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีความยืดหยุ่นพอ สมควร มีกลีบดอก 4 – 5 ชั้น จำนวน 14 – 16 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอมเย็น โคนกลีบดอกเป็นที่อยู่ของเกสรตัวผู้ก้านเกสรตัวผู้ยาวประมาณ 3 – 3.5 เซ็นติเมตร เกสรตัวเมียรวมกันเป็นฝักขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดบัว จำนวน 15 – 20 เมล็ด เมล็ดอ่อนจะมีลักษณะกลมยาว เมื่อเมล็ดแก่จะกลมมนขึ้น และผิวเมล็ดจะกลายเป็น สีดำหรือเกือบดำ เป็นที่น่าสังเกตว่าบัวชนิดนี้จะพบน้อย อาจเป็นเพราะมีเกสรตัวผู้น้อยและเกสร ตัวเมียน้อยกว่าบัวชนิดแรก ขึ้นได้ดีในระดับความลึกของน้ำประมาณ 15 – 60 เซ็นติเมตร
     1.3  สัตตบงกช ” บางทีเรียก บัวฉัตรแดง หรือ บัวป้อมแดง บัวหลวงสีชมพูดอกซ้อน มีชื่อละตินว่า Nelumbo nucifera  ชื่อสามัญว่า Roseum plenum ดอกทรงป้อมสีชมพูถึงแดง กลีบดอกซ้อนมากกว่าบัวปทุม ใกล้ฝักจะมีกลีบสีขาวปนชมพูอยู่หลายชั้น เวลาดอกบานแล้วจะเห็นกลีบเล็ก ๆ สีขาวปนชมพูซ้อนอยู่ข้างใน ส่วนกลีบนอก ๆ ก็มีลักษณะเหมือนบัวหลวงทั่วไป บัวหลวงพันธุ์นี้ไม่ค่อยมีเมล็ด

     1.4  สัตตบุษย์ ” ชื่อสามัญเรียก บัวฉัตรขาว หรือ บัวป้อมขาว ดอกป้อมสีขาว กลีบดอกซ้อนมาก ดอกตูมมีรูปร่างป้อมกว่าปุณฑริก มีสีขาว กลิ่นหอมจัด
     สำหรับบัว สัตบงกชและบุณฑริก คนเหนือเรียกว่า ” บัวพันชั้น “ มีตำนานเป็นวรรณกรรมชาดกเรื่อง ” บัวหอมพันกาบ” ที่คู่กับเรื่อง ” พญาช้างเจ็ดเศียร ” อีกด้วย ดอกบัวเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี เป็นดอกไม้ประจำวันเกิดของคนที่เกิดวันพฤหัสบดี ด้วยความที่เป็นดอกไม้แทนความสงบและความบริสุทธิ์ใจ จึงเป็น ” รักด้วยความศรัทธาและชื่นชม “ หาก หญิงผู้คล้ายดอกบัว เธอคือคนที่มีความต่างอันทรงเสน่ห์ ออกจะเป็นคนลึกลับ ทว่าหาได้สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้มาหลงเสน่ห์ไม่ ความงดงามของเธอหาใช่เกิดจากความปรารถนาจะเป็นหนึ่ง หากเป็นความงดงามอันมีคุณค่า อีกทั้งสกุลรุนชาติก็มิได้ทำให้เธอด้อยค่าหรือมีค่ามากไปกว่าความงดงามแห่ง จิตใจ เสน่ห์ของเธอไม่รุนแรงเหมือนดอกไม่สีแสบตา ทว่าเสน่ห์นี้มั่นคงและไม่เสื่อมคลาย กล่าว กันว่าเมื่อแสงอรุโณทัยขับกล่อมบทเพลงแห่งทิวา กรุ่นกลิ่นหอมอ่อนๆ ของปทุมชาติกลายเป็นเสมือนหนึ่งพลังซึ่งสามารถเขย่าหัวใจบุรุษเพศให้กระเจิด กระเจิง …….นักพรตบำเพ็ญภาวนา เมื่อได้กลิ่นหอมนี้ อาจเปิดเปลือกตาด้วยความรัญจวนและว้าวุ่น อาจสลัดความเป็นนักพรตออกดั้นด้นแสวงหากลิ่นหอมนั้น …..ชายหนุ่ม และไม่หนุ่มบางคนอาจแอบรักปทุมชาติ ทั้งที่เขามีดอกไม้อื่นอยู่แล้ว

2. บัวผัน – บัวเผื่อน Nymphaea capensis Thunb. และ Nymphaea stllata Willclenow. ใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ขอบใบจักถี่ ห่าง ไม่มีระเบียบ ดอกชูพ้นน้ำ บานกลางวัน พันธุ์พื้นเมืองมี 4 พันธุ์ คือ
     2.1 บัวนิล ดอกสีม่วงเข้ม


 
     2.2 บัวขาบ ดอกสีฟ้าคราม




      2.3 บัวผัน ดอกสีชมพู




     2.4 บัวเผื่อน ดอกเล็กสีขาว ปลายกลีบดอกสีครามอ่อน แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือปลายกลีบเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย
นอกจากนี้มีการผสมปรับปรุงพันธ์จนสามารถให้สีได้ 9 สี คือ ขาว ชมพู แดง เหลือง แสด ฟ้าคราม ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน และเหลืองเหลือบเขียว/ฟ้า




         2.5 บัวยักษ์ออสเตรเลีย ตามลักษณะจัดว่าอยู่ในตระกูลบัวผัน ในประเทศไทยพบว่ามี 3 สีที่มีการปลูกคือ ขาว ม่วงอมฟ้าคราม และม่วง


        2.6 บัวนางกวัก เป็นบัวในตระกูลบัวผัน แต่มีลักษณะของกลีบเลี้ยงที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด มีสีต่างๆคือ ขาว แดง ฟ้า ชมพู ม่วง เหลือง


  3. บัวสาย Nymphaea pubescens Willclenow. ใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ขอบใบจักถี่ แหลม เป็นระเบียบ ดอกชูพ้นน้ำ บานกลางคืน พันธุ์พื้นเมืองไทยมี 3 พันธุ์ คือ
      3.1 สัตตบรรณ หรือ สัตอุบล ดอกสีแดง







      3.2 เศวตอุบล หรือ กุมุท ดอกสีขาว




    3.3 บัวสาย เป็นชื่อบัวกินสายดอกสีชมพูที่ชาวบ้านเก็บมาขายเป็นผัก



4. บัวฝรั่ง Nymphaea spp. มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จึงเรียกบัวฝรั่ง มีหลายชนิดและพันธุ์ ลักษณะเฉพาะคือ ใบกลม ขอบใบเรียบ ดอกลอยหรือ ชูพ้นน้ำเล็กน้อย มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยหลายพันธ์ ให้ดอก 5 สี คือ ขาว ชมพู แดง เหลืองและแสด

   
 5. จงกลนณี ใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ขอบใบจักถี่ ห่าง ไม่มีระเบียบ ดอกชูพ้นน้ำ บานกลางวัน กลีบดอกเล็กเรียว ซ้อนมาก ดอกลอยบานตลอดเวลา มีพันธุ์เดียว ดอกมีสีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวและมีสีเขียวสลับเมื่อใกล้โรย
6. บัวกระด้ง Victoria regia Lindl. หรือ N.amazonica Sowerby. มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้แถบลุ่มน้ำอะเมซอน ต้น-ใบ-ดอก ใหญ่มาก ใบใหญ่ยกขอบคล้ายกระด้ง มีหนามทั่วทั้งต้น มีพันธุ์เดียวที่ปลูกในประเทศไทย ดอกบานกลางคืน คืนแรกเป็นสีขาว คืนที่ 2 เป็นสีชมพู คืนที่ 3ดอกโรยเป็นสีม่วง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บัว


บัว 

 http://moonkerd.files.wordpress.com/2011/09/5.gif

บัว

เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญ ขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัวและผิวบัวยังมีลักษณะเป็นมันวาวอีกด้วย
บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี


อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: พืชดอก (Magnoliophyta)
ชั้น: พืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida)บัว
อันดับ: Nymphaeales
วงศ์: วงศ์บัว (Nymphaeaceae)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS